อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี |
ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี มีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน ซึ่งมีฝนตกชุกระหว่างเดือน พฤษภาคม - ธันวาคม ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ประมาณเฉลี่ย 2,500 มิลลิเมตร/ปี และฤดูร้อนระหว่างเดือน มกราคม - เมษายน อุณหภูมิทั้ง 2 ฤดูประมาณ 19.2 36.2 องศาเซลเซียส
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สภาพ ป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบขึ้นปกคลุมเทือกเขาทั้งหมด มีไม้ขนาดใหญ่ เช่น ตะเคียน กาลอ ไข่เขียว สยา หลุมพอ นากบุด ตีนเป็ดแดง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย ปาล์ม ใบไม้สีทอง และมีพรรณไม้ที่หายากมีราคาแพงและกำลังจะสูญพันธุ์ คือ “หวายตะค้าทอง” และ “ปาล์มบังสูรย์ หรือลีแป” พบตามบริเวณป่าลึกบนภูเขาสูงและสันนิษฐานว่ามีอยู่แห่งเดียวในป่าบริเวณนี้
ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhnia aureifolia เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นตรงที่มีใบสีทองและผิวใบนุ่มเนียราวกับกำมะหยี่ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่า มีขอบหยักเข้าทั้งโคนใบและปลายใบ คล้ายใบรูปไข่สองใบเชื่อมติดกัน พบเห็นได้ทั่วไปในผืนป่าบูโด และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบ ขึ้นปกคลุมเทือกเขาทั้งหมด มีไม้ขนาดใหญ่ เช่น ไม้ตะเคียนชนิดต่าง ๆ ไม้กาลอ ไม้ไข่เขียว ไม้สยา ไม้หลุมพอ ไม้นาคบุตร ไม้ตีนเป็ดแดง และมีพันธุ์ไม้ที่หายากมีราคาแพงและกำลังจะสูญพันธุ์ คือ หวายตะค้าทอง และปาล์มบังสูรย์ หรือ (ลีแป) และ ใบไม้สีทอง มีชื่อทางท้องถิ่นอีกชื่อหนึ่งว่า "ย่านดาโอ๊ะ" พบทั่วไปในป่าบริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ "ย่านดาโอ๊ะ” ใบไม้สีทอง ไม้ใบงามของจังหวัดนราธิวาส สัตว์ป่า ประกอบด้วย เก้ง กระจง เลียงผา บ่าง ลิง ค่างแว่นถิ่นใต้ นกอินทรี นกยางเขียว นกกระทา นกเปล้า นกหัวขวานแดง นกกางเขนดงหางแดง นกกางเขนดง นกเงือกปากดำ นกกาฝาก ไก่ป่า เป็นต้น รถยนต์
จากกรุงเทพฯถึงอำเภอบาเจาะ ระยะทางประมาณ 1,122 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 42 จากอำเภอบาเจาะ ถึงอุทยานแห่งชาติบูโดฯ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร เครื่องบิน จากสนามบินบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร รถไฟ จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอสถานีรถไฟตันหยงมัส อำเภระแงะ และจากสถานีตันหยังมัส ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี |